วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อุปกรณ์ควบคุมภาระการใช้งานของมอเตอร์ (Motor Load Control)


อุปกรณ์ควบคุมภาระการใช้งานของมอเตอร์ (Motor Load Control)


     การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการเลิกใช้ในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น การปิดไฟแสงสว่างในบริเวณที่ไม่ใช้งาน ปิดเครื่องปรับอากาศช่วงพักกลางวัน หรือโดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ เช่น เปลี่ยนมอเตอร์เป็นมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอด Compact Fluorescent เป็นต้น  
แต่ในบางกรณีการเลิกใช้อุปกรณ์บางอย่าง หรือการเปิดใช้งานเป็นเวลาไม่สามารถทำได้ เช่น ในขบวนการผลิตที่ต้องการทำงานต่อเนื่อง บางครั้งการเปลี่ยนอุปกรณ์โดยที่อุปกรณ์เดิมยังไม่ชำรุดหรือเสียก็เป็นการไม่เหมาะสมในหลายกรณี เพราะโดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดพลังงานจะมีราคาสูงกว่าอุปกรณ์แบบเดิม


ดังนั้นการติดตั้งอุปกรณ์เสริม  (Retrofit) เข้าไปเพื่อช่วยให้เครื่องจักรเดิมใช้พลังงาน (Input) ลดลง โดยที่การทำงานของเครื่องจักรนั้น ๆ ยังคงเดิม จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
อุปกรณ์ควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์เหนี่ยวนำ (AC Induction Motor Controller)  เริ่มใช้กันแพร่หลายทั่วโลก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบเกือบทุกประเภท
ในการออกแบบระบบที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบนั้น ผู้ผลิตมักใส่มอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่จำเป็นต้องใช้งานจริงเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการทำงานเกินกำลัง ดังนั้นหากมีการควบคุมให้มอเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นในการทำงานจริงได้ ก็จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้

    การสูญเสียพลังงานบางส่วนไปโดยเปล่าประโยชน์

              อาจเกิดจาก 3 สาเหตุใหญ่ ๆ ดังนี้
1.     การออกแบบเครื่องจักรที่มีมอเตอร์เป็นต้นกำลังต้องเผื่อไว้สำหรับโหลดสูงสุดและ Safety Factor  ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องจักรจะไม่ได้ทำงานขับโหลดสงสุดอยู่ตลอดเวลา
2.     โครงสร้างการทำงานของ induction Motor เองที่ถูกออกแบบให้หมุนด้วยความเร็วคงที่ @ Synchronous Speed = (120 x Frequency/Pole) โดยเกือบจะไม่มีผลกระทบจากแรงดันที่ป้อน หรือโหลดที่เปลี่ยนแปลงภายในขอบเขตที่กำหนดนั้นคือมอเตอร์จะทำงานในลักษณะ On-Off โดยแทบไม่เปลี่ยนแปลงตามโหลด
3.     ระบบไฟฟ้าที่จ่ายแรงดันมาสูงกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อชดเชย Load/Line Regulation Distribution Loss และอื่น ๆ เช่น ระบบ 380 โวลท์ เราอาจวัดได้เป้ฯ 390-400 โวลท์ ซึ่งยังอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ และยังไม่ทำอันตรายต่ออุปกรณ์แต่จะมีการสูญเสียพลังงานไปบางส่วน


เมื่อพิจารณาถึงสภาวะทางไฟฟ้าระหว่างการทำงานของมอเตอร์ทั่วไป ซึ่งจะเป็น Induction Load จะพบได้ ดังรูปที่ 1
จะเห็นได้ว่า Current Lags Voltage อยู่ด้วยมุมค่าหนึ่ง โดย CosØ   คือ  Power Factor โดยที่

                        P.F   =  Real Power (Watt)                                                                    
                                      Total Power (VA)
                                =   Cos Ø
                                                                                                                       
        เนื่องจากการแกว่างขึ้นลงของ Line Voltage มอเตอร์เหนี่ยวนำกระแสสลับ (AC Induction Motors) โดยทั่วไปจะถูกออกแบบให้สามารถขับ Rated Load ได้ที่  Under voltage เล็กน้อย เช่น 380 V. - 10 %  แต่การกินกระแสของมอเตอร์ไม่ได้ลดลงไปมากตามโหลด เช่น ที่ No Load มอเตอร์ไม่ได้ดึงกระแสมากกว่าปกติ ดังนั้นมอเตอร์จะมีการสูญเสียพลังงาน และประสิทธิภาพน้อยลงที่สภาวะโหลดต่ำ ๆ



          อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์จะคอยตรวจสอบสัญญาณ A/C และตรวจเช็คว่าเมื่อใดมอเตอร์ใช้ไฟมากกว่าที่ต้องการจริง เมื่อนั้นระบบก็จะตัดส่วนที่เกินของสัญญาณ A/C ออก ซึ่งทำให้มอเตอร์ทำงานได้ตามปกติต่อไป แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง ความกว้างของส่วนที่ถูกต้องตัดออกถูกกำหนดด้วยโหลดจริงของมอเตอร์ขณะนั้น ๆ ซึ่งคำนวณโดยการเปรียบเทียบมุมองศาของกระแสกับการแรงดันไฟฟ้า
ในภาวะโหลดน้อย ๆ สัญญาณ A/C จะถูกตัดออกมากเมื่อโหลดมากขึ้นขนาดสัญญาณที่ถูกต้องจะลดลง จนถึงจุดมอเตอร์อยู่ในภาวะที่ทำงานเต็มที่ (Fully Loaded) ไฟจะถูกจ่ายให้มอเตอร์เต็มที่ ขนาดของสัญญาณแทบจะไม่ถูกตัดออกเลย
วงจรตรวจสอบคลื่นสัญญาณ (Wave Monitor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบสัญญาณคลื่นที่เข้าและออกเพื่อหาค่าโหลดของมอเตอร์อย่างต่อเนื่องไม่โคคอนโทรลเลอร์รับสัญญาณ อนาลอกจากวงจรตรวจสอบคลื่นสัญญาณและทำการปรับสัญญาณด้วยการควบคุมการทำงาน Switching Device อย่างต่อเนื่องเช่น
ส่วน Flat Area (t l + t 2)  นี้จะเป็นส่วนที่ไม่มีพลังงานจ่ายให้กับมอเตอร์ หรือเมื่อกิโลวัตต์เป็นศูนย์แน่นอนว่าถ้าส่วน Flat Area นี้ยาวมาก ๆ เราก็จะสามารถประหยัดพลังงานได้มาก และมอเตอร์ก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย เพราะพลังงานที่จ่ายให้มอเตอร์ถูกลดลงตามโหลดที่เปลี่ยนแปลงไป

เนื่องจากไม่มีเปลี่ยนแปลงค่า  Frequency  ดังนั้นจากนิยามของคำนวณ
                Speed (RPM) =  120 x Frequency (Hz) /Pole
นั้นคืออุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์เกือบจะไม่มีผลต่อความเร็วรอบของมอเตอร์




        อัตราการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเมื่อใช้อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง จึงไม่เหมือนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานอื่น ๆ ที่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าสามารถประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้เท่าไหร่ เช่น บัลลาสต์อิเลคทรอนิค ที่มีโหลดคงที่เสมอ แต่การประหยัดของอุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับโหลดของมอเตอร์เมื่อเทียบกับค่าพิกัดของมอเตอร์ ลักษณะการทำงานของระบบที่มีจังหวะหยุดมอเตอร์ยังหมุนฟรีเป็นมอเตอร์ปั๊มไฮโดรลิคของเครื่องฉีดพลาสติก เป็นต้น
          
ของมอเตอร์เมื่อใช้อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์


   รูปที่ 4 :  Voltage, Current และ kWatt   ของมอเตอร์เมื่อใช้อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์




        จุดเด่นของอุปกรณ์ควบคุมภาระการใช้งานของมอเตอร์ประเภทนี้ คือเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มเติมผู้ใช้ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรือมอเตอร์ที่มีอยู่ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ประหยัดพลังงานอื่น ก่อนทำการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าจะต้องทำการวิเคราะห์สภาพการใช้งานของมอเตอร์ก่อน เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานและความคุ้มค่าในการลงทุน

ที่มา : เอกสารเผยแพร่ความรู้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 

มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Motor )


มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
(High  Efficiency  Motor )



มาทำความเข้าใจถึงการสูญเสียในมอเตอร์
                ประสิทธิภาพมอเตอร์ ถูกกำหนดค่าโดยกำลังขาออก  (Watt  Output) หารด้วยกำลังขาเข้า (Watt  Input) หรือในรูปแบบกลับกัน  โดยกำลังขาเขาหักออกด้วยกำลังที่สุญเสียไป (Watt  Losses)  หารด้วยกำลังขาเข้า  โดยกำหนดให้ค่ากำลังหนึ่งแรงม้าทางกลมมีค่าเท่ากับ 746 วัตต์ของกำลังไฟฟ้า
              ทางเดียวที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของมอเตอร์จำเป็นต้องลดการสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นค่าความสูญเสียเมื่อมอเตอร์ไม่ได้รับภาระการทำงานหรือไม่มีโหลด (No  Load  Losses) จะมีค่าคงที่เกิดขึ้นเมื่อเราป้อนพลังงานเข้ามอเตอร์ ซึ่งจะรวมถึงความสูญเสียที่เกิดจากความเสียดทานและเกิดขึ้นที่ตลับลูกปืนของมอเตอร์ความสูญเสียจากแรงลมเกิดขึ้นจากพัดลมระบายความร้อนของมอเตอร์ และแรงฉุดของลมโรเตอร์ (สำหรับมอเตอร์แบบเปิด IP23) การสูญเสียที่แกนเหล็กประกอบด้วยการสูญเสียจากค่าฮีสเตอร์รีซีส (Hysteresis Losses) และการสูญเสียจากกระแสไหลวน (Eddy Current Losses) ในวงจรแม่เหล็กของมอเตอร์ การสูญเสียเมื่อมอเตอร์ไม่มีโหลดมีค่าประมาณ 30 % ของค่าความสูญเสียรวมในมอเตอร์ตัวหนึ่ง ๆ และเกิดขึ้นไม่ว่ามอเตอร์จะหมุนตัวเปล่าหรือใช้งานอยู่ก็ตาม

         ความสูญเสียเมื่อมอเตอร์ต้องรับภาระหรือโหลดที่เกิดขึ้น (Load Losses) การสูญเสียที่สเตเตอร์หรือโรเตอร์ เป็นผลของความต้านทานของวัสดุที่ใช้ตัวนำที่สเตเตอร์ ตัวนำที่โรเตอร์ และวงจรแม่เหล็กของมอเตอร์เราสามารถควบคุมค่าความสูญเสียได้ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมส่วนการสูญเสียจากภาระการใช้งานเป็นผลที่เกิดจากฮาร์โมนิค และการสูญเสียที่เกิดจากกระแสไหลวน สามารถควบคุมการสูญเสียนี้ได้จากการออกแบบ และการควบคุมกรรมวิธีการผลิต


     ทำไมมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงถึงมีราคาสูงกว่า
        ปรัชญาการออกแบบมอเตอร์อุตสาหกรรมได้เพ่งเล็งไปที่ความทนทาน มีอายุการใช้งาน ได้นานโดยที่มีราคาสมเหตุสมผล และก่อนวิกฤตการณ์น้ำมันจากกลุ่มประเทศอาหรับในช่วงปี พ.ศ.2516 ถึง 2517 ที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์เป็นเรื่องค่อนข้างไม่สำคัญ แต่ในปัจจุบันนี้มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงจะรวมเอาลักษณะการสร้างที่แข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้ยาวนานไว้ด้วยจากลักษณะโครงสร้างพิเศษ ดังต่อไปนี้

  • ปรับปรุงคุณสมบัติของแกนเหล็กให้ดีขึ้น  มอเตอร์ธรรมดาจะใช้เหล็กเคลือบผิว (Laminated Steel) คาร์บอนต่ำสำหรับทำแกนเหล็กที่ โรเตอร์และสเตเตอร์ เหล็กแบบดังกล่าวมีการสูญเสียกำลังของไฟฟ้า 3 วัตต์ต่อน้ำหนักเหล็กหนึ่งปอนด์ ส่วนมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะใช้เหล็กซิลิกอนเกรดสูง ซึ่งเป็นแบบที่จะลดการสูญเสียกำลังของไฟฟ้าจากกระแสดไหลวนไปได้ถึงครึ่งหนึ่ง คือเหลือเพียงประมาณ 1.5 วัตต์ต่อน้ำหนักเหล็ก 1 ปอนด์
  • ใช้เหล็กเคลือบผิวที่บางกว่า   การลดความหนาของแผ่นเหล็กที่ทำแกนของโรเตอร์ และสเตเตอร์ ก็เป็นการลดความสูญเสียกำลังจากกระแสไหลวนให้ต่ำลง นอกจากนี้การ ปรับปรุงฉนวนระหว่างแผ่นเหล็กจะช่วยลดการสูญเสียเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น
  • เพิ่มปริมาณตัวนำทองแดง   มอเตอร์ธรรมดาแบบเก่าจะใช้สายตัวนำเป็นอะลูมิเนียม โดยมีขนาดพอดีกับค่ากระแสสูงสุดของมอเตอร์ แต่มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะใช้ตัวนำที่เป็นทองแดงเพื่อให้ความต้านทานชุดขดลวดต่ำลงด้วยตัวนำขนาดใหญ่กว่าปกติประมาณ 35-40 %
  • ปรับปรุงการออกแบบร่องสล็อท   เพื่อที่จะจัดให้มีพื้นที่สำหรับขดลวดทองแดงที่มีประมาณมากขึ้น และฉนวนที่มีเพื่อขึ้นตามความจำเป็น พื้นที่ภาคตัดขวางของร่องสล็อทต้องขยายขนาดออกไปประมาณ 50 % เพื่อชดเชยกับพื้นที่ภาคตัดขวางของช่องที่กว้างขึ้น ทำให้ต้องใช้แกนของสเตเตอร์ที่ยาวออกไปอีก แกนที่ยาวขึ้นกว่าเดิมมีผลให้ได้ประโยชน์เพิ่มที่สำคัญในลักษณะของการปรับปรุงตัวประกอบกำลัง (Power Factor) ของ มอเตอร์ให้ดีขึ้น
  • ปรับปรุงฉนวนของโรเตอร์    การสูญเสียกำลังบางส่วนจะเกิดขึ้นโดยไม่เจตนาจากกระบวนการผลิตมอเตอร์ที่ทำให้เกิดทางเดินกระแสไฟฟ้าที่ไม่ต้องการระหว่างตัวนำที่โรเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อตัวนำที่โรเตอร์ถูกทำให้อยู่ในแนวเฉียง ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในการออกแบบตามปกติเพื่อลดเสียงรบกวนและแรงบิดที่ไม่สม่ำเสมอในมอเตอร์ขนาดเล็ก ในการผลิตมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่ขอบของช่องโรเตอร์จะใช้ฉนวนทนอุณหภูมิสูงเพื่อลดทอนการสูญเสียเหล่านี้
  • ออกแบบพัดลมที่มีประสิทธิภาพมากกว่า    เนื่องจากมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะทำงานโดยมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าแบบธรรมดา ทำให้มีพัดระบายความร้อนที่เล็กกว่า ลดทอนการสูญเสียกำลังจากแรงลม และมีผลทำให้มีเสียงรบกวนน้อยกว่า  


การเลือกมอเตอร์สำหรับเปลี่ยนทดแทน

บทเรียนราคาแพงอีกอย่างหนึ่ง คือ การเปลี่ยนมอเตอร์โดยใช้มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมโดยพละการ ไม่คำนึงว่ามอเตอร์นั้นเป็นมอเตอร์ที่สมควรเปลี่ยนหรือไม่ หลักเกณฑ์การเปลี่ยนมอเตอร์เก่าทดแทนด้วยมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงมีรายละเอียดอยู่ในหัวข้อ “การเลือกมอเตอร์สำหรับเปลี่ยนทดแทน (Retrofit)”








    
การคำนวณค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อปี
            ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงการคำนวณสำหรับการเปลี่ยนมอเตอร์ธรรมดาประสิทธิภาพ 91.7 % ด้วยมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง 94.1 % ที่มีขนาดเท่ากัน มอเตอร์เครื่องนี้มีกำลัง 50 แรงม้า ใช้รับโหลดเต็มที่และทำงาต่อเนื่อง (8.760 ชั่วโมง ต่อปี) อัตราพลังงานคือ 1.75 บาท ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง การคำนวณการประหยัดพลังงานต่อปีจะคำนวณได้จากสมการนี้

                                     S = 0.746 X H X L X C X N (100/EB-100/EA)
 แทน                             S  =  กาประหยัดต่อปีเป็นบาท             H  =  แรงม้าของมอเตอร์
                                     L  =  การรับโหลดของมอเตอร์             C  =  อัตราพลังงานไฟฟ้า บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง
                                     N  =  ชั่วโมงการทำงานต่อปี                 EA = ประสิทธิภาพของมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง เป็นร้อยละ
                                     EB = ประสิทธิภาพของมอเตอร์แบบธรรมดา เป็นร้อยละ
                                     S = 0.746 X 50 X 1 X 1.75 บาท 8.760V (100/91.7-100/94.1)
                                    
                 การประหยัดต่อปี  =  15.896 บาท (คิดเป็นระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1 ปี)

    สอบถามจากผู้แทนจำหน่ายมอเตอร์
         การปรึกษากับผู้แทนจำหน่ายมอเตอร์ ก่อนลงมือเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่จะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ผู้แทนจำหน่ายมอเตอร์สามารถช่วยในวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ และสามารถให้ข้อมูลเฉพาะเรื่องในองค์ประกอบในการประเมินค่าที่สำคัญ ๆ เช่น ลักษณะการออกแบบพิเศษ ประสิทธิภาพการรับประกันอย่างต่ำที่สุด และค่าตัวประกอบกำลังของมอเตอร์


   การเลือกมอเตอร์สำหรับเปลี่ยนทดแทน (Retrofit)
       หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ควรจำนะมาพิจารณาเพื่อเลือกลำดับความสำคัญก่อนหลังให้แก่มอเตอร์รุ่นเก่าที่สามารถจะเปลี่ยนทดแทนได้โดยมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง

  • สภาพโดยทั่วไป  สังเกตความเสียหายบนตัวถังของมอเตอร์หรือฉนวน หากมอเตอร์นั้นได้ผ่านการพันขดลวดใหม่มาแล้วหลายครั้งหรือเมื่อทำงานแล้วมีความร้อนหรือมีประวัติด้านความเสียหายของตลับลูกปืนหรือปัญหาอื่น ๆ มาก่อน มอเตอร์เช่นนี้เหมาะสมที่จะเปลี่ยนใหม่ด้วยมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
  • อายุ  มอเตอร์อายุการใช้งานมากก็เป็นมอเตอร์ที่มีโอกาสชำรุดมากขึ้น และปกติจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่ามอเตอร์ใหม่
  • ชั่วโมงการใช้งานต่อปี   มอเตอร์ที่ถูกใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงปกติมักจะเป็นมอเตอร์ที่สมควรเลือกสำหรับการเปลี่ยนทดแทนที่สุดแต่มอเตอร์ที่ใช้งานเพียงช่วงเวลาเดียวใน 1 วัน ก็ควรจะพิจารณาว่าอัตราการใช้กระแสไฟฟ้าสูงหรือไม่
  • ลักษณะการรับโหลด   มอเตอร์ที่ทำงานด้วยโหลดเต็มที่หรือเกือบเต็มที่เป็นมอเตอร์ที่น่าเลือกที่สุดตามหลัก อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนทดแทน โดยการใช้มอเตอร์ขนาดที่เล็กและขนาดของมอเตอร์ ใกล้เคียงกับการโหลดที่แท้จริง ทดแทนมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโหลดมาก ๆ ก็สามารถได้ความประหยัดในด้านพลังงาน
  • ความเร็วใช้งาน   จุดที่ดีที่สุดในด้านประสิทธิภาพจะมอเตอร์ที่ทำงานระหว่าง 1200-3600 รอบต่อนาที
  • การใช้งาน    มอเตอร์ที่ใช้งานกับโหลดคงที่จะเป็นมอเตอร์ที่น่าเลือกกว่ามอเตอร์ที่รับโหลดแปรปรวน มอเตอร์ที่ใช้บนเครน ลูกรอกงานเจาะ งานเครื่องจักร ฯลฯ ปกติจะยากที่จะนำมาเปลี่ยนทดแทนด้วยมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
  • แบบมาตรฐานหรือแบบพิเศษ   มอเตอร์ที่ผลิตมาโดยเฉพาะงานไม่เหมาะนำมาปรับปรุง หรือเปลี่ยนทดแทนด้วยมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง แต่อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนวิธีต่อประกับจะสามารถทำให้มอเตอร์แบบธรรมดามาใช้ทดแทนแบบที่ออกแบบพิเศษได้


ที่มา : เอกสารเผยแพร่ความรู้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย